“ตัดกราม” หนึ่งในศัลยกรรมที่เป็นที่นิยมไม่แพ้ศัลยกรรมส่วนอื่นๆ ซึ่งการตัดส่วนกรามนั้นเป็นวิธีที่แก้ไขปัญหาโครงหน้าได้อย่างถาวร จึงไม่น่าแปลกใจที่คนไข้หลายๆ ท่านเลือกที่จะทำศัลกรรมประเภทนี้เพื่อช่วยเสริมความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวันด้วย ทั้งนี้ ยังเป็นวิธีที่เหมาะกับทั้งชายและหญิงที่อยากดูดีมากยิ่งขึ้นอีกด้วยครับ อย่างไรก็ดี การศัลกรรมโดยการตัดกรามออก มีเทคนิคใดบ้าง มีข้อดีข้อเสีย และต่างจากการศัลยกรรมคางอย่างไร ในบทความนี้เราจะมาพูดคุยกัน เพื่อให้เป็นอีกหนทางหนึ่งสำหรับการรับไว้พิจารณาของคนไข้ครับ
“ตัดกราม” คืออะไร มีเทคนิคอะไรบ้าง?
โครงสร้างของใบหน้าส่วนล่างที่ทำให้ดูหน้ากว้าง บานใหญ่ กรามใหญ่ กรามเหลี่ยม เป็นรูปเหลี่ยม ซึ่งมักจะเป็นปัญหาของคนเอเชีย ลักษณะใบหน้าที่ดูบึกบึน แข็ง ไม่อ่อนหวาน ประกอบด้วยส่วนหลักๆ 2 ส่วน คือ ส่วนมุมของกระดูกขากรรไกรล่างยื่นออก และกล้ามเนื้อที่ใช่เคี้ยวอาหาร รวมถึงไขมันสะสมบริเวณแก้มช่วงล่าง สำหรับผู้ที่กังวลสามารถพบแพทย์เพื่อ ตรวจวิเคราะห์ให้ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุใด ซึ่งถ้าเกิดจากสาเหตุกระดูกขากรรไกรกว้างยื่นออก การผ่าตัดกราม คือคำตอบ หากเป็นเพราะกล้ามเนื้อ แก้ไขได้ด้วยการฉีดโบท็อกซ์ลดกล้ามเนื้อกรามลงได้ และ หากเกิดจากไขมันสะสม สามารถฉีดสลายไขมันหรือดูดไขมัน หรือรักษาแก้ไขร่วมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่ปัญหาของแต่ละบุคคล
การศัลยกรรมกราม คือ….
ศัลยกรรมตัดมุมกราม คือ การผ่าตัดมุมกราม เหลากราม หรือกรอกราม ทั้ง 2 สองข้างออก เพื่อให้ใบหน้าด้านข้างมีขนาดเล็กลง ซึ่งในบุคคลที่มีคางสั้น หรือโครงหน้าช่วงล่างสั้นมาก ค่อนข้างออกไปทางหน้าเหลี่ยม คางที่แบนกว้างด้วยการตัดกรามด้านข้างอย่างเดียว จะทำใบหน้าไม่เรียวสวยอย่างที่ต้องการ
2 เทคนิคตัดกราม เพื่อใบหน้าที่เรียวสวย
วิธีการตัดกรามในปัจจุบันมีอยู่ 2 เทคนิคด้วยกัน วิธีแรกคือ เทคนิคเปิดแผลนอก ช่องปาก และ เทคนิคเปิดแผลในช่องปาก โดยทั้ง 2 เทคนิคจะใช้วิธีการวางยาสลบ และใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 2-3 ชั่วโมง
1. เทคนิคเปิดแผลนอกช่องปาก
โดยผ่านผิวหนังบริเวณมุมกรามโดยตรงและผ่าตัดในช่องปากโดยซ่อนแผลไว้ บริเวณซอกเหงือกด้านหลังฟันซี่สุดท้ายในปากเริ่มจากแพทย์จะเปิดแผลตรงบริเวณ มุมกรามทั้ง 2 ข้างเข้าไปที่มุมกระดูกขากรรไกร แล้วใช้เครื่องมือซึ่งเป็นเลื่อยเล็กๆ ตัดตามตำแหน่งที่ต้องการ โดยหลังผ่าตัดมีระยะเวลาบวมน้อยกว่าผ่าตัดในช่องปาก คือ ประมาณ 3 – 5 วัน อาการบวมก็จะเริ่มหายไป แต่ปัจจุบันวิธีนี้อาจไม่เป็นที่นิยม มากนัก เนื่องจากขณะผ่าตัดมีโอกาสไปกระทบกระเทือนต่อเส้นประสาทที่มาเลี้ยง กล้ามเนื้อมุมปากได้มากกว่า อาจทำให้เกิดอาการปากเบี้ยวได้ชั่วคราว และที่สำคัญ อีกอย่างคือ จะมีรอยแผลผ่าตัดยาวประมาณ 2-3 ซม.ให้เห็นที่มุมกรามทั้ง 2 ข้างได้
ข้อดี : สามารถทำได้ง่ายกว่าวิธีผ่าตัดจากในช่องปาก, อาการบวมน้อยกว่าการผ่าตัดจากในช่องปาก
ข้อเสีย : เสี่ยงต่อการกระทบเส้นประสาทได้ง่าย, มีรอยแผลเป็นหลังการผ่าตัด
2. เทคนิคเปิดแผลในช่องปาก
เริ่มจากผ่าตัดผ่านซอกเหงือกด้านหลังฟันกรามไปยังมุมกระดูกขากรรไกร จากนั้นก็ตัดแต่งกรามตามต้องการการผ่าตัดวิธีนี้จะเป็นที่นิยมกันมากกว่าเพราะไม่ เห็นแผลเป็น นอกจากนั้นกระดูกกรามที่ได้จะโค้งเนียนสวยกว่าเพราะสามารถตัดแต่ง ได้ตลอดกระดูกขากรรไกร เนื่องจากไม่ต้องมาพะวงเรื่องแผลเป็นทำให้สามารถเปิด แผลได้ยาวกว่าอีก ทั้งวิธีนี้ยังไม่เสี่ยงกระทบเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อมุมปากด้วย อย่างไรก็ตามการตัดกรามในช่องปากต้องอาศัยศัลยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและ ต้องใช้เครื่องมือพิเศษที่สามารถเลื่อยหรือเหลากระดูกได้ในซอกแคบๆ แต่จะว่าไป นี่ก็ไม่ถือว่าเป็นอุปสรรคอะไร เนื่องจากปัจจุบันมีศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญในการ ผ่าตัดอยู่ไม่น้อย และเครื่องมือก็มีความทันสมัยมากขึ้น สำหรับเรื่องของอาการบวม หลังผ่าตัด การผ่าตัดในช่องปากจะมีอาการบวมมากกว่าคือประมาณ 5 -10 วัน เพราะทำในที่แคบซึ่งยากกว่าและเนื้อเยื่ออาจชอกช้ำมากกว่า
ข้อดี : ไม่มีรอยแผลเป็น, สามารถตัดแต่งมุมกรามได้มากกว่า, สามารหลีกเลี่ยงเส้นประสาทได้ดีกว่าการเปิดแผลภายนอก
ข้อเสีย : มีอาการบวมมากกว่าการเปิดแผลภายนอก,การผ่าตัดภายในช่องปาก จำเป็นต้องรักษาเรื่องความสะอาดภายในช่องปากมากกว่าปกติ
ผ่าตัดกรามดีอย่างไร ?
ซ่อมแซมแก้ไขใบหน้าตั้งแต่ส่วนกลางลงมาถึงส่วนล่างให้สมมาตรฐาน
ศัลยกรรมตัดกรามเหมาะกับใคร ?
- ผู้ที่มีขากรรไกรล่างกว้าง
- ผู้ที่มีมุมกรามใต้หู
- ผู้ที่มีกรามโดยรวมขนาดใหญ่
- ผู้ที่มีใบหน้าไม่สมมาตรฐาน
ข้อควรรู้ก่อนการผ่าตัดกราม
1. ต้องเป็นผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป เพราะเป็นเกณฑ์อายุที่ร่างกายของคนส่วนใหญ่เจริญเติบโตเต็มที่แล้วกระดูกและโครงสร้างต่างๆ ของร่างกายคงที่ ไม่มีการเจริญเติบโตในเรื่องของโครงสร้างกระดูกอีกต่อไป
2. ต้องเป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง
3. ไม่มีโรคประจำตัวที่ร้ายแรง
4.ใช้เวลาในการพักฟื้นหลังการผ่าตัด1-2วัน
5. ร่างกายจะกลับมาปกติและสมบูรณ์ที่สุดหลังเข้ารับการผ่าตัดไปแล้ว 3-6 สัปดาห์
6. ในช่วงแรกๆ ของการปรับโครงสร้างหน้าด้วย “การผ่าตัดกราม” อาจส่งผลให้ยิ้มได้ยากขึ้น หรืออาจเกิดอาการที่ริมฝีปากทำงานผิดปกติ เช่นเปิดปากได้ยากขึ้น ปากปิดไม่สนิท ปากเบี้ยว แต่ทุกอาการจะสามารถทุเลาลงได้ด้วยการทำกายภาพ และการฝึกฝนกล้ามเนื้อโดยรอบ ตามคำแนะนำของแพทย์และพนักกายภาพบำบัด
แนวทางการดูแลตนเองหลังการศัลยกรรมผ่าตัดมุมกราม
- ในช่วง 2 -3 วันแรกให้ประคบเย็นเพื่อลดอาการบวม หลังจากนั้นประคบต่อด้วยน้ำอุ่นประมาณ 7-14 วัน
- ในช่วง 3 – 4 วันแรก อาจมีอาการปวด บริเวณแผลผ่าตัดในปาก รวมถึงบริเวณกระดูกที่ทำการผ่าตัดได้บ้าง บางรายอาจมีอาการหูอื้อเล็กน้อย เนื่องจากแรงสั่นสะเทือนระหว่างการเหลา หรือตัดกระดูกกราม แต่จะเป็นอยู่ชั่วคราว และหายได้เองในช่วง 7 – 14 วัน
- รับประทานอาหารอ่อน งดอาหารแข็งหรืออาหารที่ต้องใช้แรงบดเคี้ยวอาหารรสจัด ของหมักดอง หรือแอลกอฮอล์ ในช่วง 1 เดือนแรก
- งดสูบบุหรี่ ในช่วง 1 เดือนหลังการผ่าตัดเพราะอาจทำให้แผลหายช้า
- รักษาความสะอาดของช่องปากด้วยการแปรงฟันเบาๆ ด้วยแปรงสีฟัน ที่มีขนอ่อนนุ่ม เพื่อขจัดเศษอาหารตกค้างซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบได้ และบ้วนปากด้วยน้ำยาล้างปากบ่อยๆ หลังการรับประทานอาหาร
- ขยับอ้าปากบ่อยๆ หรือทุกครั้งที่นึกได้ เพื่อขยับข้อต่อขากรรไกรไม่ให้ติดหรือฝืดในระยะแรกที่มีอาการบวม อาจจะยังอ้าปากไม่ได้มาก ถือเป็นเรื่องปกติไม่ต้องกังวลใจ เมื่ออาการบวมค่อยๆ ทุเลาลงก็จะอ้าปากได้มากขึ้นตามลำดับ
- หลังผ่าตัดอาจมีอาการเขียวช้ำเกิดขึ้นได้เป็นเรื่องปกติ ให้ประคบด้วย น้ำอุ่น บริเวณรอยเขียวช้ำ ประมาณ 2 สัปดาห์ รอยเขียวช้ำก็จะจางหายไปครับ
อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
แม้ว่าการผ่าตัดกรามจะผ่านไปด้วยดี แต่ก็อาจเกิดอาการแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงตามมาได้เหมือนกัน ดังนั้นหลังจากผ่าตัดกราม จึงควรดูแลและสังเกตความผิดปกติให้ดี เพื่อจะได้ทำการรักษาและแก้ไขได้ทันนั่นเอง โดยผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นก็มีดังนี้
- กระดูกรามบริเวณที่ถูกผ่าเกิดการแตก เนื่องจากได้รับการกระทบกระเทือนหรือกระดูกมีความเปราะบางจึงแตกได้ง่าย
- เกิดการติดเชื้อ เนื่องจากแผลไม่สะอาด ส่วนใหญ่เป็นเพราะดูแลรักษาแผลไม่ดีทำให้ติดเชื้อได้นั่นเอง
- เส้นประสาทได้รับความเสียหาย จึงทำให้เกิดอาการชาบริเวณปากและใบหน้าเป็นเวลานาน บางคนอาจปากเบี้ยวได้เลยทีเดียว
- การเสียเลือดมาก ซึ่งอาจทำให้เสี่ยงต่อการช็อคได้
- อาจเกิดภาวะซึมเศร้าหลังผ่าตัด ซึ่งเป็นผลจากการผ่าตัดกรามนั่นเอง
การผ่าตัดกราม ก็เหมือนกับการทำศัลยกรรมอื่นๆ ที่อาจมีอาการแทรกซ้อนและผลข้างเคียงได้ ดังนั้นเมื่อผ่าตัดกราม จึงควรดูแลตนเองหลังผ่าตัดให้ดี และทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
เกี่ยวกับการ “เสริมคาง”
- ซิลิโคนแบบขายาว : เหมาะสำหรับคนไข้ที่มี แนวกรามใหญ่ แก้มเยอะ เพื่อจะเก็บกรอบหน้า เก็บแก้มให้เรียวมากขึ้นครับ
- ซิลิโคนแบบขาสั้น : สำหรับเสริมคางได้ทุกรูปแบบ หรือ คนไข้ที่ต้องการให้ใบหน้าดูเป็นธรรมชาติครับ เสริมคาง จะเป็นการผ่าตัดเล็ก โดยใช้ซิลิโคนชนิดเดียวกัน กับที่ใช้ในการเสริมจมูก มาเหลาปรับทรงตามความเหมาะสม จากนั้นก็นำมาใส่บริเวณคาง เสริมคางด้วยซิลิโคน จะแบ่งออก เป็น แผล 2 ตำแหน่ง คือ
1.เสริมคางแผลใน
คือ การผ่าตัดแบบเปิดแผลในปาก วิธีนี้หมอทำการเปิดแผลด้านในของปาก ตรงซอกเหงือกกับริมฝีปากล่าง ความยาวของแผลประมาณ 2 ซม. ข้อดีของการเปิดแผลในปาก คือ บวมช้ำเล็กน้อย รอยต่อน้อย ไม่เห็นรอยแผลเป็นด้านนอก แต่ก็ต้องหมั่น ดูแลทำความสะอาดช่องปาก เพื่อไม่ให้เกิดการอักเสบและการติดเชื้อ ในตอนแรกหลังผ่าตัดจะต้องทานอาหารอ่อนๆ และงดอาหารรสจัด ส่วนใหญ่คนไข้มักจะเลือก เสริมคางแผลในมากกว่าครับ
2.เสริมคางแผลนอก
คือ การผ่าตัดเปิดแผลบริเวณใต้คางโดยจะทำการเปิดแผลขนาดประมาณ 2 – 3 ซม. สำหรับเสริมคางแผลนอก จะเป็นที่นิยม น้อยกว่าการ เสริมคางแผลใน เพราะวิธีนี้คนไข้บางคนอาจเกิดแผลเป็นนูน หรือ คีย์ลอยด์หลังผ่าตัด แต่การดูแลหลังผ่าตัดจะสะดวกมากกว่าแผลภายในครับ
สรุป…
อย่างไรก็ดีครับ ไม่ว่าจะเป็นการ ศัลกรรมคาง หรือ ศัลยกรรมตัดมุมกราม หมอก็เชื่อว่าบทความด้านบทจะสามารถช่วยให้ตัดสินใจเลือกวิธีแก้ปัญหา คางสั้นทำศัลยกรรมอะไรดี ได้มากขึ้นอย่างแน่นอน แต่ขอย้ำว่าคนไข้จำเป็นต้องเข้าใจถึงปัญหา คางสั้น ของตัวเองว่าที่มันไม่ได้รูปนั้นแท้จริงแล้วเกิดจากอะไร เป็นที่กระดูก หรือเป็นที่กล้ามเนื้อ หรือเป็นที่ผิวหนังเท่านั้น เพื่อทำการรักษาที่ถูกต้อง ทั้งนี้ก่อนตัดสินใจทำควรให้คุณหมอทำการประเมินก่อนเพื่อความปลอดภัยของคนไข้ครับ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
รีวิว : เสริมคาง คางไฮโซหน้ารูปไข่
บทความ : เสริมคาง “เปลี่ยนสาวหน้ากลมเป็นหน้ารูปไข่” ได้จริงมั้ย?