แย่แล้วสิครับ ดันกลายเป็นเรื่องใหญ่สร้างความกังวลใจ ให้กับคนที่เคยทำศัลยกรรมมาแล้วและคนที่กำลังตัดสินใจว่าจะทำทำศัลยกรรมดีไหม กับปัญหาพังผืดหรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า “แคปซูล” ซึ่งเป็นสิ่งที่มักจะเกิดขึ้นหลังจากทำการผ่าตัด และการเกิดพังผืดอาจถึงขั้นต้องผ่าตัดเปิดแผลใหม่ เพื่อทำการเลาะพังผืดนั้นออกมา
เรามาทำความรู้จักกับพังผืดกันกันสักหน่อย “พังผืด” คือเนื้อเยื่อที่ร่างกายของคนเรานั้นสร้างขึ้น เพื่อห่อหุ้มสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาอยู่ในร่างกายของเรา ซึ่งที่จริงแล้ว “พังผืด” คือเนื้อเยื่อคอลลาเจน tpe I ซึ่งพบมากถึง 90% ของคอลลาเจนทั้งหมดในร่างกาย ช่วยในการสร้างกระดูก ผนังหลอดเลือด เอ็นและเอ็นยึดกล้ามเนื้อ ผิวหนัง กระจกตา และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน มีความเหนียวและแข็งแรงมากที่สุด และ Tpe II พบมากในกระดูกอ่อน เช่น ส่วนประกอบของหู จมูก หลอดลม และกระดูกซี่โครง แต่ถึงอย่างไร “พังผืด” ก็เป็นเนื้อเยื่อปกติของเราเอง ที่เป็นกระบวนการของร่างกาย ที่เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในร่างกาย ก็จะทำการสร้างเนื้อเยื่อมาห่อหุ้มสิ่งแปลกปลอมนั้นไว้ สิ่งที่ว่านั้นก็คือ “พังผืด” นั่นเอง โดยการทำศัลยกรรมนั้นมักจะมีโอกาสเกิดพังผืดขึ้นได้ ซึ่งปัจจัยของการเกิดพังผืดในการทำจมูกก็มีอยู่หลายกรณีด้วยกัน ได้แก่
- มีเลือดคั่ง คือหลังทำมีอาการบวมมากกว่าปกติ ไม่ยุบซักที เลือดที่คั่งจะถูกแทนที่ด้วยพังพืดในภายหลัง
- มีการอักเสบหรือติดเชื้อ ยิ่งมีการติดเชื้อจะทำให้การหายช้าลง
- ตัวซิลิโคนไม่รับกับกระดูกจมูก ก็จะทำให้ เกิดช่องว่างระหว่างซิลิโคนกับจมูกเยอะ ช่องว่างเหล่านั้น ร่างกายเราจะสร้างพังพืดมาแทนที่
ปัจจัยที่ทำให้พังผืดเกิดขึ้นได้ยาก
1.ซิลิโคนมีคุณภาพ ได้มาตรฐานทำให้โอกาสในการเกิดพังผืดน้อย
2.ซิลิโคนต้องมีความยืดหยุ่น เพราะความยืดหยุ่นจะทำให้พังผืดเกาะซิลิโคนได้ยาก
3.หมอต้องมีความชำนาญ และมีฝีมือประณีต เพราะในการเหลาซิลิโคนนั้นต้องให้ออกมารับกับโครงสร้างของจมูก
แล้วจะรู้ได้ไงว่ามีพังผืด ?
รู้ได้ไม่ยากเลยครับ เพราะการใส่ซิลิโคนนั้นจะทำให้ร่างกายเกิดการสร้างพังผืด ไม่ว่าเราจะใช้เกรดพรีเมี่ยมขนาดไหน เข้ากับร่างกายขนาดไหน ก็เกิดพังผืดขึ้นได้ จริง ๆ แล้วมันก็เป็นเพียงกลไกตามธรรมชาติ ถ้ามันไม่มากจนเกิดไป จนทำให้จมูกผิดรูปหรือน่าเกียจ พังผืดที่ว่าก็ไม่อันตราย โดยทางการแพทย์ก็มีแบ่งระดับที่บ่งบอกว่าถ้ามีปริมาณพังผืดมากจะทำให้ความธรรมชาติของจมูกเปลี่ยนแปลงไป โดยเราแบ่งออกเป็น 4 ระดับดังนี้
- ระดับ 1 : ดูภายนอกเป็นปกติ
- ระดับ 2 : เริ่มเห็นเป็นขอบซิลิโคน แต่อยู่ในเกณฑ์ที่รับได้
- ระดับ 3 : ช่วง 3-5 ปี จะเริ่มมีการหดรัดของพังผืด จนซิลิโคนดูเอียง สัมผัสภายนอกแล้วผิวหนังค่อนข้างแข็ง ไม่ยืดหยุ่น และไม่สม่ำเสมอ
- ระดับ 4 : ช่วง 6-10 ปี จะเริ่มมีการหดรัดที่ปลายจมูกจนจมูกสั้นลงจนทำให้ซิลิโคนทะลุ และเริ่มมีการแคลเซียลมาเกาะรอบพังผืด
บทความ : 10 สัญญาณเตือนก่อนซิลิโคนทะลุ
บทความ : หลังทำจมูก ทำไมห้ามกินเผ็ด?!! สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงหลังศัลยกรรมจมูก
วิธีการรักษา
สามารถทำได้หลายวิธีด้วยกันครับ โดยหมอจะเลือกจากระดับของอาการที่เกิดขึ้น แล้วทำการรักษา แต่ไม่ต้องกังวลนะครับเพราะวิธีการรักษานั้นก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้การผ่าตัดเสมอไป โดยการวิธีรักษาพังผืดมีดังนี้
- การนวด : สำหรับในช่วงแรกของการเกิดพังผืดนั้นสามารถรักษาได้ด้วยการนวดเพื่อให้พังผืดนั้นลดความแข็งลง โดยการนวดนั้นผู้ที่นวดจะต้องมีความเข้าใจและรู้จัดวิธีนวดที่ถูกต้องด้วย เพราะไม่อย่างนั้นพังผืดก็จะยังคงอยู่ และในการนวดแต่ละครั้งก็จะมีการใช้ยาบางชนิดช่วยกระตุ้นให้การนวดนั้นได้ผลมากขึ้นด้วย
- การผ่าตัด : จะใช้รักษาในกรณีที่เกิดพังผืดในระดับที่ 3-4 ซึ่งการผ่าตัดนั้นก็เป็นการขยายโพรง เพื่อให้ซิลิโคนอยู่ในตำแหน่งที่ไม่มีการหดรัด ในกรณีที่มีการหดรัดมากไป การทำเพียงขยายโพรงอาจไม่เพียงพอเลยต้องทำการเลาะพังผืดออกด้วย โดยเฉพาะกรณีซิลิโคนหดรัดถึงระดับสี่ แต่ก็มีข้อที่ต้องพึงระวังไว้ด้วยนั้นคือ การที่เราทำการเลาะพังผืดหรือการขยายโพรง ในระยะยาว อาจเกิดพังพืดขึ้นมาใหม่ได้อีก
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
นัดจองคิวล่วงหน้า หรือ ปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่


นพ.รัฐรุจน์ บารมีไชยภัสร์ (หมอกันต์) แพทย์ศัลยกรรมมือหนึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านเสริมความงาม การแก้ไขจมูกเทคนิค Open Reconstruction ออกแบบรูปหน้าและทรงจมูกตามหลัก Anatomy รวมถึงบริการทางด้านการดูแลผิวพรรณ เลเซอร์ โบท็อกซ์ (Botox) ฟิลเลอร์ (Filler) ร้อยไหม เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานผ่าน อย. และการผ่าตัดเสริมความงามทั่วเรือนร่าง เสริมจมูก เสริมหน้าอก ดูดไขมัน ตาสองชั้น ยกกระชับผิว เก็บกรอบหน้า ปั้นหน้าเด็ก และรักษาไฝ ฝ้า กระ จุดด่างดำ แบบครบวงจร การันตีฝีมือและผลงานด้วยรีวิวเยอะที่สุด มีมากกว่า 10,000 เคส