“เสริมคางแล้วเป็นรอยต่อ” เมื่อพูดถึงเรื่องแผล หรือรอยแผลเป็นต่างๆ แน่นอนว่า ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในกรณีใด ก็มักจะสร้างความรำคาญให้กับเราอยู่เสมอ โดยเฉพาะเมื่อแผลหรือรอยต่างๆ ดังกล่าวเกิดขึ้นกับแผลหลังการผ่าตัดเสริมคาง ก็จะยิ่งทำให้คนไข้รู้สึกสูญเสียความมั่นใจได้ง่ายมากๆ เพราะเราไม่สามารถปฏิเสธไดเลยว่า เมื่อมาทำคางแล้ว ใครๆ ก็อยากให้ผลของการผ่าตัดผ่านไปได้ด้วยดี แต่หากเกิดรอยแผลหรือรอยต่อ ก็ไม่วายต้องมาแก้คางใหม่อย่างแน่นอน

“เสริมคางแล้วเป็นรอยต่อ” เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรได้บ้าง?
ในการเสริมคางนั้น สิ่งที่คนไข้มักเป็นกังวลคือเรื่อง “รอยแผล” เพราะการเป็นรอยแผลหรือรอยต่อบนใบหน้านั้นจะสามารถเห็นได้ชัดกว่าบริเวณอื่นๆ ดังนั้น การที่จะให้คางของคนไข้นั้นเรียบเนียนได้และไร้รอยต่อ จึงต้องเกิดจากขั้นตอนในการศัลยกรรมคางที่ดีเสียก่อน เพราะนอกจากจะสวยไร้รอยต่อแล้ว ก็ต้องแก้ปัญหาโครงหน้าของคนไข้ และมีสัดส่วนที่เหมาะ รับกับใบหน้าของคนไข้ด้วยนั่นเอง
รู้จักแผลเป็น
แผลเป็น คือ รอยที่เหลือหลังจากบาดแผลหายสนิท หากแผลเป็นอยู่ในแนวเดียวกับรอยย่นผิวหนัง แผลเป็นจะไม่ชัด เพราะซ่อนไปในแนวผิวหนัง ดังนั้นแผลเป็นจากอุบัติเหตุจึงมักชัดเจนกว่าแผลจากการผ่าตัด
ลักษณะแผลเป็น
แผลเป็นที่มีปัญหาแยกได้ตามลักษณะ ได้แก่
- ปัญหาแผลนูนมักเกิดจาก 2 ภาวะ คือ
แผลคีลอยด์ (Keloid) เป็นแผลที่นูนออกนอกขอบเขตของแผลเดิมมาก มีอาการคัน มักเกิดบริเวณหน้าอกจากการผ่าตัดหัวใจ จากการเป็นสิวที่ร่องอก บริเวณหัวไหล่จากการปลูกฝี ติ่งหูหลังการเจาะหู หรือเป็นที่อื่น ๆ และปัจจัยทางพันธุกรรมเสริม
- แผลเป็นนูน (Hypertrophic Scar) เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายเพื่อให้แผลหาย แผลเป็นอยู่ในขอบเขตของแผลเดิม
- แผลเป็นหลุม
- แผลยืดกว้างจากรอยเย็บเดิม
- แผลที่มีการดึงรั้ง (Scar Contracture) โดยเฉพาะเมื่อแผลเชื่อมโยงระหว่างข้อต่อ
- แผลที่มีความตึง
ความเสี่ยงและผลข้างเคียง
- ความเสี่ยงทั่วไป
- ปวดแผล แต่สามารถบรรเทาอาการปวดได้โดยการรับประทานยาแก้ปวด
- ความเสี่ยงเฉพาะ
- แผลอาจจะหายแล้วพบว่ากว้างขึ้นหรือนูนขึ้นอีกได้ โดยทั่วไปถ้าหากแก้ไขโดยศัลยแพทย์เฉพาะทางแล้วโอกาสหายจะดีกว่า เพราะมีวิธีการเย็บปิดแผลโดยลดความตึงและอาจจะเปลี่ยนทิศทางให้ความตึงของแผลน้อยลง
วิธีการรักษาแผลเป็น
การรักษาแผลเป็นมีหลายวิธี ได้แก่
-
การฉีดยารักษาแผลเป็น
เป็นการฉีดสเตียรอยด์เข้าในก้อนแผลเป็น เพื่อให้ก้อนนิ่มลง ลดขนาด ลดอาการคัน และลดความนูนของแผล โดยปกติจะฉีดห่างกัน 2 – 4 สัปดาห์ โดยทั่วไปจะต้องฉีดต่อเนื่องจนกว่าก้อนยุบลง เนื่องจากถ้าหยุดฉีดแล้วมักเกิดแผลเป็นใหม่ได้ จึงต้องนัดติดตามอาการต่อทุก 2 – 3 เดือน ปัญหาที่พบบ่อยหลังการฉีดคือ ผิวหนังบางไขมันยุบ ซึ่งแก้ไขได้ยาก การฉีดต้องใช้ความระมัดระวังด้านปริมาณของยาและตำแหน่งเข็ม การตอบสนองต่อยาของผู้ป่วยส่วนบุคคลจึงควรฉีดโดยแพทย์เฉพาะทาง
-
การใช้เลเซอร์ (Vbeam หรือ Pulsed Dye Laser Treatment)
เพื่อลดอาการแดง และลดเส้นเลือดบริเวณที่ฉีดยา
-
การผ่าตัดแก้ไขแผลเป็น (Scar Revision)
มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- ตัดแผลเป็นทั้งหมดออก แล้วทำการเย็บใหม่ ซึ่งแผลใหม่ที่เย็บจะเป็นเส้นไม่มีขาตะขาบ
- ตัดบางส่วนของแผลที่มีปัญหาออกแล้วทำการเย็บบริเวณดังกล่าว และเมื่อแผลหายดีแล้วจึงทำการตัดส่วนที่เหลือของแผลเป็นออกอีกครั้งจนหมด หรือรักษาส่วนที่เหลือด้วยการฉีดสเตียรอยด์ มักใช้ในแผลเป็นที่มีขนาดใหญ่มาก ไม่สามารถตัดครั้งเดียวได้หมด
- แผลที่อยู่ตำแหน่งตึงจะต้องเปลี่ยนทิศทางการเย็บใหม่เพื่อให้แผลลดความตึงตัว
เสริมคาง ให้สวยเนียน ไร้รอยต่อ แผลนอก VS แผลใน?
เสริมคางแผลนอก
วิธีนี้แพทย์จะทำการเปิดแผลด้านนอก ตรงบริเวณใต้คาง ความยาวของแผลจะมีขนาด เล็กนิดเดียว ประมาณ 1 – 1.5 ซม. แล้วใส่ซิลิโคน ไปตามตำแหน่งที่ต้องการ แล้วทำการเย็บปิดแผล ใช้เวลาในการผ่าตัด ประมาณ 30-45 นาที ซึ่งความยากหรือง่ายนั้นจะขึ้นอยู่กับคนไข้แต่ละเคสครับ

ข้อดีของการเสริมคางแบบเปิดแผลด้านนอก
-
ดูแลง่าย แผลหายเร็ว
-
วางตำแหน่งซิลิโคนได้อย่างแม่นยำ
-
ไม่เป็นก้อน ไม่ห้อยย้อย
-
ไม่เสี่ยงการติดเชื้อ
-
ไม่เกิดการอักเสบภายในช่องปาก
เสริมคางแผลใน
วิธีนี้แพทย์จะทำการเปิดแผลข้างในปาก ตรงบริเวณซอกเหงือกตรงริมฝีปากล่าง ความยาวของแผลจะมีขนาดประมาณ 1.5 – 2 ซม. หลังจากนั้นจะแยกเนื้อเยื่อหุ้มกระดูกตรงบริเวณขอบล่างขึ้นมา แล้วทำการใส่ซิลิโคนเข้าไปยังตำแหน่งที่ต้องการ แล้วทำการเย็บปิดแผล โดยจะใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 1 ชม. ครับ
ข้อดีของการเสริมคางแบบเปิดแผลด้านใน
-
ผ่าตัดในช่องปาก ไม่เห็นรอยแผลเป็นด้านนอก
-
ไม่ต้องตัดไหม แผลหายไว
-
ดูแลรักษาง่าย
-
แพทย์ต้องมีความเชี่ยวชาญสูง
การเสริมคางด้วยการเปิดแผลทั้ง 2 แบบ เป็นสิ่งที่หมอและคนไข้ต้องทำการปรึกษาเพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดร่วมกันครับ แต่ก่อนอื่นหมอจะทำการประเมินและพิจารณาองค์ประกอบของใบหน้าทุกๆ ส่วนไม่ว่าจะเป็น หน้าผาก จมูก และกรามก่อนการผ่าตัดเสริมให้คนไข้ก่อน เพื่อให้ได้สัดส่วนคางที่เหมาะสม เข้ากับรูปหน้า และความต้องการของคนไข้แต่ละท่านด้วย
อย่างไรก็ดี ในการ เสริมคางแล้วเป็นรอยต่อ คนไข้อาจจะต้องใช้วิธีการรักษาแบบผสมผสานกัน ประมาณ 2-3 วิธี เพื่อให้ได้เห็นผลมากที่สุดครับ เนื่องจากจวบจนปัจจุบัน ยังไม่มีการรักษาแผลเป็นที่หายแบบ 100% คนไข้จึงต้องอาศัยการรักษาเช่นนี้ ทั้งนี้ ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ด้วยว่าการรักษาแผลควรมีแผนแบบใด เนื่องจากคนไข้แต่ละเคสจะมีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้น จึงควรให้ศัลยแพทย์แนะนำจะดีที่สุดครับ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
Q&A – 7 คำถามยอดฮิตที่คนอยาก”ทำคาง”ต้องรู้
นัดจองคิวล่วงหน้า หรือ ปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่
นพ.รัฐรุจน์ บารมีไชยภัสร์ (หมอกันต์) แพทย์ศัลยกรรมมือหนึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านเสริมความงาม การแก้ไขจมูกเทคนิค Open Reconstruction ออกแบบรูปหน้าและทรงจมูกตามหลัก Anatomy รวมถึงบริการทางด้านการดูแลผิวพรรณ เลเซอร์ โบท็อกซ์ (Botox) ฟิลเลอร์ (Filler) ร้อยไหม เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานผ่าน อย. และการผ่าตัดเสริมความงามทั่วเรือนร่าง เสริมจมูก เสริมหน้าอก ดูดไขมัน ตาสองชั้น ยกกระชับผิว เก็บกรอบหน้า ปั้นหน้าเด็ก และรักษาไฝ ฝ้า กระ จุดด่างดำ แบบครบวงจร การันตีฝีมือและผลงานด้วยรีวิวเยอะที่สุด มีมากกว่า 10,000 เคส